วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ไบโอฟล็อค เทคโนโลยีใหม่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
แนะนำมานิตย์ฟาร์ม
และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความตั้งใจที่จะพัฒนาการเลี้ยงปลานิล และ ประสบความสำเร็จ โดยมีจุดเริ่มจากความเข้าในสิ่งที่ตลาดต่างประเทศต้องการ และตอบสนองสิ่งนั้น ซึ่งแน่่นอนว่าจะต้องใช้ความพยายามและเวลาเป็นอย่างมาก
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเวปไซด์ http://www.manitfarm.com
การเลี้ยงปลานิลที่เหมาะสม 3
ข้อดีของการเลี้ยงแบบกระชังในบ่อ คือ ปลาจะโตเร็ว มีเนื้อมาก ใช้เวลาเลี้ยงในกระชังเพียง 60 วัน ก็สามารถขายเป็นปลามีชีวิตให้พ่อค้า หรือ โรงงานแปรรูปที่ต้องการทำเนื้อปลาแล่ โดยจะมีราคา 40 บาทขึ้นไป แต่ข้อเสีย คือ มีต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น และ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะปลาค่อนข้างหนาแน่น
การเลี้ยงรูปแบบนี้ ค่อนข้างเหมาะสมกับการเลี้ยงเพื่อส่งออกสู่ตลาดที่ต้องการสินค้ามีคุณภาพ ซึ่งไทยเรายังผลิตได้ค่อนข้างน้อย ถ้าหากมีผู้สนใจเลี้ยงมากขึ้น ก็จะสามารถพัฒนาตลาดได้เพิ่มขึ้นในอนาคต
การเลี้ยงปลานิลที่เหมาะสม 2
ในบ่อเลี้ยงปลานิล เราก็สามารถปล่อยปลาชนิดอื่นลงไปได้ เช่น ปลายี่สก ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ ที่สามารถขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยโรงงานก็สามารถรับซื้อได้ในขนาด 800 กรัมขึ้นไปสำหรับปลายี่สกและปลานวลจันทร์ ส่วนปลาตะเพียนขนาด 200 กรัม จะมีราคาเฉลี่ยที่ 20-24 บาท ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงแบบคร่าวๆ แต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพของแต่ละพื้นที่
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
จุดอ่อนของการส่งออกปลานิล
สำหรับประเทศไทย พื้นที่การเลี้ยงอยู่กระจายทั่วไป และค่อนข้างห่างจากโรงงานแปรรูป ทำให้เกิดความยุ่งยากในการผลิตและมีต้นทุนสูง เราไม่สามารถแข่งขันได้ในเรื่องคุณภาพสินค้า เนื่องจากโรงงานไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการผลิตปลาน้ำจืด เหมือนกับประเทศคู่แข่ง ทำให้เราสามารถผลิตได้เพียงสินค้าคุณภาพต่ำ ใช้ราคาเป็นจุดขาย ในเมื่อไม่สามารถผลิตสินค้าที่มีราคาสูงได้ ก็ไม่สามารถเพิ่มราคาวัตถุดิบให้จูงใจเกษตรกรหันมาผลิตปลาที่มีคุณภาพได้
ดังนั้น การที่จะพัฒนาการส่งออก คงไม่สามารถทำเพียงด้านเดียวได้ แต่ต้องเป็นการทำพร้อมๆกันในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปลานิลไทยสามารถแข่งขันได้เช่นเดียวกับสินค้าเกษตรอื่นๆ
การเลี้ยงปลานิลที่เหมาะสม
การเลี้ยงเพื่อส่งออกในปัจจุบัน จะเน้นปลาที่มีขนาด 400-800 กรัม ซึ่งสามารถเลี้ยงในบ่อดินได้ โดยการใช้อาหารที่มีในท้องถิ่นเป็นหลัก ในระยะเวลา 8-10 เดือนก็สามารถจับส่งโรงงานแปรรูปได้ หรือ ส่งให้พ่อค้าคนกลาง โดยมีต้นทุนการผลิต 15-20 บาทต่อกิโลกรัม และ ราคาที่โรงงานรับซื้อจะอยู่ที่ 24-32 บาท ต่อกิโลกรัม
ส่วนปลาที่เลี้ยงในกระชังจะมีขนาด 600-1000 กรัม มีเนื้อมาก ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงเพียงแค่ 4-6 เดือน แต่จะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ถ้าหากเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ และ ต้องใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ที่มีโปรตีนสูง เนื่องจากปลาไม่สามารถหาอาหารตามธรรมชาติได้ โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 35-45 บาท ทำให้ไม่สามารถใช้เพื่อการส่งออกได้ นอกจากจะทำการแปรรูปเป็นเนื้อปลาแล่ ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่มักมีข้อจำกัดในกระบวนการผลิต ทำให้มีความต้องการเพื่อส่งออกปลาแบบนี้ ค่อนข้างน้อย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)