วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ยุโรปและอเมริกา ตลาดที่ท้าทาย


ยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักของผลผลิตปลานิลจากประเทศจีน มีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทดแทนปลาทะเลเนื้อขาว เช่น ปลาคอด พอลล็อค โฮกิ ที่มีปริมาณลดลงเรื่อยๆ โดยทั้งสองตลาดนำเข้าเนื้อปลานิลแล่แช่แข็งจำนวนมาก โดยใช้ปลาขนาด 800 กรัมเป็นหลัก ส่วนปลาขนาด 500-800 กรัม สามารถผลิตเป็นปลาทั้งตัวแช่แข็ง แต่มีความต้องการน้อยและราคาค่อนข้างต่ำ
โดยปลานิลที่นำมาผลิตเป็นเนื้อปลาแล่จะต้องมีปริมาณเนื้อค่อนข้างมาก ไม่มีกลิ่นโคลน และ เนื้อเป็นสีขาว ซึ่งเป็นข้อจำกัดของปลานิลในประเทศไทย เนื่องจากปลานิลส่วนใหญ่ในบ้านเรา มีการเลี้ยงในบ่อดิน ให้อาหารที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตปลาใหญ่ ทำให้ไม่สามารถผลิตปลาขนาด 800 กรัมได้มากเพียงพอ และ ปริมาณเนื้อค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับจีน และในขั้นตอนการแปรรูป ก็ขาดแคลนโรงงานที่สามารถผลิตปลานิลแล่ให้มีเนื้อสีขาวได้ เนื่องจากจะต้องนำปลาที่มีชีวิต มาแปรรูปที่โรงงาน แต่โรงงานแปรรูปที่มีในปัจจุบัน ไม่สามารถรับปลามีชีวิตมาผลิตได้
จากอุปสรรคในเรื่องการผลิตและการแปรรูป ทำให้เรายังไม่สามารถส่งออกปลานิลไปยังตลาดยุโรปและอเมริกาได้มาก แต่เนื่องจากความต้องการที่มากและราคาที่จูงใจ ทำให้มีแนวโน้มในการพัฒนาการเลี้ยงและโรงงานแปรรูป เพื่อให้สามารถผลิตเนื้อปลาแล่ที่สามารถแข่งขันกับประเทศจีนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น